การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration)

 

 

 

 

 

การหมักแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation)

image005

ที่มา : http://www.pw.ac.th/main/website/sci/7_main.html
เป็นกระบวนการสลายกลูโคสเป็นกรดไพรูวิกตามขั้นตอน ไกลโคลิซิส มีการสร้าง ATP เกิดขึ้น 2 โมเลกุล จากนั้นกรดไพรูวิกจะเปลี่ยนเป็นแอซิทัลดีไฮด์ (acetaldehyde)
โดยมีเอนไซม์ไพรูเวท ดีคาร์บอกซิเลส(pyruvate decarboxylase) ช่วยเร่งปฏิกิริยามี CO2 เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ 2 โมเลกุล จากนั้นแอซิทัลดีไฮด์ก็จะเปลี่ยน เป็นเอทานอล (ethanol)
โดยมี เอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส(alcohol dehydrogenase) เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาจะเห็นว่ากระบวนการหมักแอลกอฮอล์ จะมีเฉพาะไกลโคลิซิสไม่มีวัฏจักรเครบส์ ไม่มีกระบวน
การถ่ายทอดอิเล็กตรอน ไม่มี O2 เข้าร่วมปฏิกิริยา จึงเกิด ATP เพียง 2 โมเลกุล น้อยกว่าการสลายกลูโคสแบบใช้ออกซิเจนถึง 18-19 เท่า
แม้ว่ากระบวนการหมักแอลกอฮอล์ จะให้พลังงานน้อย แต่มนุษย์ก็นำวิธีการสลายอาหารแบบนี้มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น การใช้ยีสต์ สำหรับหมัก เบียร์ ไวน์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

การหมักกรดแลกติก (Lactic acid fermentation)

image007

ที่มา : http://www.pw.ac.th/main/website/sci/7_main.html
เป็นกระบวนการสลายกลูโคสแบบไม่ใช้ออกซิเจนที่พบในเซลล์กล้ามเนื้อลายของสัตว์ พยาธิตัวตืดและแบคทีเรียบางชนิด โดยกลูโคสจะเข้าสู่กระบวนการ
ไกลโคลิซิส เปลี่ยนแปลงเป็นกรดไพรูวิก เช่นเดียวกับการหมักแอลกอฮอล์ แต่ในขั้นต่อมากรดไพรูวิกนั้นจะเปลี่ยนเป็นกรดแลกติก (Lactic acid) โดยมีเอนไซม์แลกเตทดีโฮโดรจีเนส (lactate dehydrogenase)
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสลายกลูโคส โดยกระบวนการหมักกรดแลกติก ทำให้เกิด ATP 2 โมเลกุล และกรดแลกติก 2 โมเลกุล โดยไม่มี CO2 เกิดขึ้น
มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการหมักกรดแลกติกของแบคทีเรียบางชนิด มาใช้ในการผลิตอาหารบางอย่าง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ผักและผลไม้ดอง
เป็นต้น

ที่มา : http://www.ceted.org/webbio/chapter03/index_l03_p17.php

 

Posted on มิถุนายน 26, 2014, in การสลายสารอาารแบบไม่ใช้ออกซิเจน. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น